การโค้ช (Coaching) โดย ดร.ธานินทร์ วรวิจิตราพันธ์

1866 Views  | 

การโค้ช (Coaching)  โดย ดร.ธานินทร์ วรวิจิตราพันธ์

การโค้ช (Coaching)

โดย

ธานินทร์ วรวิจิตราพันธ์

แปลโดย

ดร. เพ็ชรรัตน์  จันทร์แสนวิไล

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาความเป็นผู้นำ

ABGTS (Asia Baptist Theological Seminary)

 ----------------------------

เรื่องในเล่ม

1. เบื้องหลัง และ คำจำกัดความ

2. องค์ประกอบของการโค้ช

     2.1 การตั้งเป้าหมาย

     2.2 กลยุทธ์ หรือ แผนปฏิบัติการ

     2.3 ผลสะท้อนกลับและการคิดทบทวน
     2.4 ความรับผิดชอบ  

3. โค้ช และ น้องเลี้ยง

4. การโค้ชกับพันธกิจอภิบาล


เบื้องหลัง และ คำจำกัดความ

คำว่า “การโค้ช” (coaching)[1] ถูกใช้เป็นครั้งแรกในปลายศตวรรษที่ ๑๙ ในทีมกีฬา จุดประสงค์คือการทำให้นักกีฬาเล่นได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ต่อมา ในศตวรรษที่ ๒๐ จึงมีการใช้คำนี้ในด้านอื่นๆที่ไม่ใช่การกีฬาด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งก็คือในธุรกิจ หรือ ในองค์กรต่างๆ  ในเวลาต่อมา ก็มีการใช้คำนี้ในด้านพัฒนาการทางจิตวิทยาของคน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “การโค้ชชีวิต” (life coaching) หรือ “การโค้ชส่วนตัว” (personal coaching) บทความนี้จะมุ่งเน้นทางด้านนี้ คือการโค้ชที่เน้นการช่วยเหลือคนอื่นให้ตั้งเป้าหมายและทำให้บรรลุตามเป้าหมาย ในบริบทด้านธุรกิจ เป้าหมายอาจเป็น การทำงานให้ได้ดีขึ้น ในขณะที่ทางด้านพัฒนาการส่วนตัว เป้าหมายอาจรวมถึงมิติด้านจิตใจหรือจิตวิญญาณด้วย การโค้ชมุ่งเน้น “การถามคำถามอย่างไม่ชี้นำ การกระตุ้นความสนใจ และการช่วยน้องเลี้ยง ให้วิเคราะห์และแก้ปัญหาที่ท้าทายตัวเอง แทนการให้คำแนะนำ หรือ ชี้นำ”[2] เป็นการยากที่จะนิยามคำว่า “การโค้ช” อย่างรัดกุม อย่างไรก็ตาม สถาบัน Chartered Institute of Personnel and Development (CIPD) ได้ให้แนวคิดที่เห็นพ้องกันของลักษณะการโค้ช[3] ดังต่อไปนี้

ต้องเป็นรูปแบบการพัฒนาโดยไม่มีการชี้นำ
มุ่งเน้นการปรับปรุงการทำงาน หรือ ทักษะส่วนตัว
อาจมีการพูดถึงประเด็นส่วนตัว แต่เน้นที่การปฏิบัติตัวในการทำงาน 
กิจกรรมในการโค้ชมีทั้งเป้าหมายด้านองค์กรและส่วนบุคคล
มีสมมุติฐานว่าบุคคลนั้น ๆ มีสุขภาพจิตที่ดี และไม่ต้องการการแทรกแซงด้านจิตบำบัดให้ผลสะท้อนกลับ (feedback) แก่คน ๆ นั้น ทั้งด้านจุดแข็งและจุดอ่อนของเขาเป็นกิจกรรมที่มีทักษะที่ควรจัดโดยคนที่ได้รับ

 

การอบรมมามีความเหลื่อมล้ำกันอยู่บ้าง ระหว่าง การโค้ช (coaching) การเป็นพี่เลี้ยง (mentoring) และการให้คำปรึกษา (counselling) การเป็นพี่เลี้ยงจะเน้นด้านสัมพันธภาพระยะยาว ในขณะที่การโค้ชมุ่งเน้นการพัฒนาเป้าหมายเจาะจงบางอย่างในระยะสั้น พี่เลี้ยงมีมุมมองที่กว้างกว่าในตัวน้องเลี้ยงและสภาพแวดล้อมเป็นแบบกันเองมากกว่า เมื่อเทียบกับการให้คำปรึกษา การโค้ชมีไว้สำหรับคนที่มีสุขภาพจิตดี เมื่อโค้ชสังเกตเห็นความไม่ปกติด้านจิตใจของน้องเลี้ยง เขาสามารถส่งต่อไปให้มืออาชีพคนอื่นดูแลได้

ในการสำรวจน้องเลี้ยง 210 คนของโค้ชมืออาชีพและส่วนตัว ที่ทำโดยสมาคมมืออาชีพด้านธุรกิจและโค้ชส่วนตัวที่ใหญ่ที่สุดของโลกคือ International Coach Federation in America ในปี 1998 มีข้อเท็จจริงบางอย่าง ที่น่าสนใจ ซึ่งเป็นผลด้านบวกมาก ๆ ของการโค้ช กล่าวคือ 70% ของผู้ที่ตอบบอกว่า “มีคุณค่ามาก” ในขณะที่ 28.5% บอกว่า “มีคุณค่า” ในการตอบคำถามเรื่องบทบาทของโค้ช น้องเลี้ยงมองดูบทบาทของโค้ชว่าเป็นผู้ฟังหรือกระจกสะท้อนความคิด (84.8%) เป็นผู้กระตุ้น (78.1%) เป็นเพื่อน (56.7%) เป็นพี่เลี้ยง (50.5%)

ด้านผลของการทำงานกับโค้ชนั้น คำตอบ ๕ อันดับแรกของประสบการณ์ของน้องเลี้ยงคือ ความตระหนักในตัวเอง (67.6%) ตั้งเป้าหมายที่ดีขึ้น (62.4%) ชีวิตสมดุลมากขึ้น (60.5%) ความเครียดลดลง (57.1%) และ การค้นพบตัวเอง (52.9%)

การติดต่อสื่อสารหลัก ๓ ประเภทระหว่างโค้ชและน้องเลี้ยงคือ ทางโทรศัพท์ (94.3%) ทางอีเมล์ (45.2%) และการพบเป็นส่วนตัว (35.2%)
(อ่านต่อ) ดาวน์โหลดไฟล์ https://drive.google.com/uc?export=download&id=1lLNC7oSAxzl63d3oLcr488Ft_T0bY_GZ

 

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  ,  นโยบายคุกกี้