สรุปหนังสือ"ภาพพจน์ของการอภิบาล" (ตอน1)

1487 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สรุปหนังสือ"ภาพพจน์ของการอภิบาล" (ตอน1)

สรุปหนังสือ “ภาพพจน์ของการอภิบาล” (ตอน1)

“Images of Pastoral Care” by Robert C. Dykstra (ed.), Atlanta, Chalice Press, 2005.

โดย  ธานินทร์  วรวิจิตราพันธ์

แปลโดย  สุจินดา-วิรุฬห์ จิตต์ปราณีชัย

ส่วนที่1 ภาพพจน์ของการอภิบาลในช่วงเริ่มต้น

1. เอกสารมนุษย์  (The Living Human Document)

แอนตัน ที บอยเซน (Anton T. Boisen) ถือเป็นผู้ก่อตั้งการศึกษาที่เกี่ยวกับการอภิบาลของศิษยาภิบาลในอเมริกา  ได้สร้างรูปแบบการดูแลของศิษยาภิบาลจากประสบการณ์ของตัวเขาเอง เขาเคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพราะสภาวะที่ไม่ปรกติ เขามีความกลัวที่รุนแรงเกี่ยวกับความหายนะที่จะเกิดขึ้นในโลกและเขารู้สึกไม่สามารถรับมือกับมันได้ เขาให้เหตุผลเกี่ยวกับการเจ็บป่วยของเขาว่า “บางสิ่งบางอย่างได้เกิดขึ้นซึ่งขัดแย้งกับรากฐานของการมีเหตุและผลตามปกติ”  ภาพพจน์ของเอกสารมนุษย์ คือ  การพยายามที่จะอ่านเข้าไปในตัวตนของคนเหมือนกับการอ่านหนังสือ เพื่อที่จะนำความหมายและเป้าหมายของมันออกมา หน้าที่ของศิษยาภิบาลก็คือการช่วยเหลือลูกค้า (หรือสมาชิกของคริสตจักร) ให้มองเห็นภาพรวมของประสบการณ์อันหลากหลายทั้งหมดและหาความหมายจากประสบการณ์เหล่านี้

การให้คำปรึกษาของศิษยาภิบาลคือการฟังและแปลความหมายจากเรื่องราวของคน คนแต่ละคนต้องการที่จะเป็นที่นับถือและมีคนรับฟัง “ในความเป็นเอกลักษณ์และสิทธิของเขา”  เขาหรือเธอต้องการผู้แปลสารและผู้ชี้แนะ บทบาทหลักของศิษยาภิบาลในการให้คำปรึกษาก็คือการทำความเข้าใจและแปลสารจากโลกที่อยู่ภายในของคนๆนั้นและพยายามที่จะช่วยเขาให้สร้างความหมายที่มีความเป็นไปได้ขึ้นมาใหม่

2. โครงข่ายมนุษย์  (The Living Human Web)

บอนนี่ มิลเลอร์-แมคลีมอร์ (Bonnie Miller-Mclemore)  ให้ความเห็นว่าในการให้คำปรึกษาของศิษยาภิบาล เราจำเป็นที่จะต้องมีมุมมองที่กว้างขึ้น ไม่มองเพียงแค่บริบททางศาสนศาสตร์หรือทางจิตวิทยาเท่านั้น แต่รวมไปถึงสภาพสังคมของคนๆนั้น หลักจริยธรรม เพศ วัฒนธรรมและความคิดเห็นต่อสาธารณะ   ดังนั้นเธอจึงแทนที่คำของบอยเซนที่ว่า “เอกสาร” เป็นคำที่ให้ความหมายกว้างและซับซ้อนมากกว่าว่า “โครงข่าย” คำอธิบายที่ทำให้เห็นภาพที่ดีของ “โครงข่าย”ก็คือเมื่อศิษยาภิบาลได้พบกับคนที่อาศัยอยู่ในวัฒนธรรมที่มากกว่าหนึ่งวัฒนธรรม เช่น  คนที่เน้นสิทธิสตรีหรือคนสีผิว ศิษยาภิบาลต้องเข้าใจในทั้งสองวัฒนธรรมที่มีอิทธิพลเหนือคนๆนั้น (เช่นวัฒนธรรมทางสังคม และ วัฒนธรรมของเชื้อชาติ)

3. ผู้เลี้ยงแกะที่ห่วงใย (The Solicitous Shepherd)

นี่อาจจะเป็นหนึ่งในภาพพจน์ที่เป็นที่นิยมที่สุดของศิษยาภิบาลซึ่งมาจากคำสอนของพระเยซูโดยตรงและอัครสาวก เปโตร (ยอห์นบทที่ 10 และ 1 เปโตรบทที่ 5)  ผู้เขียนได้ใช้คำอุปมาของชาวสะมาเรียที่ดีในการเป็นแบบของผู้เลี้ยงที่ดี ชาวสะมาเรียช่วยชายที่บาดเจ็บจากความต้องการของเขาเอง โดยไม่มีเหตุผลอย่างอื่นเลย ยิ่งไปกว่านั้น ผู้เลี้ยงแกะควรมองไปที่ความต้องการของมนุษย์ ทั้งทางด้านร่างกายและจิตวิญญาณ ทั้งความต้องการที่เฉพาะเจาะจงและพระกิตติคุณนิรันดร์ การเลี้ยงดูไม่ใช่เป็นเพียงหน้าที่อย่างเดียวของศิษยาภิบาลเท่านั้น เขายังต้องทำอย่างอื่นด้วย เช่น การร่วมสามัคคีธรรม, การประกาศพระกิตติคุณฯลฯ ถึงแม้ว่าเป้าหมายสูงสุดของศิยาภิบาลก็คือการเชื่อมโยงระหว่างพระกิตติคุณเข้ากับความต้องการของมนุษย์ก็ตาม แต่การเลี้ยงดูก็ไม่ได้เกี่ยวข้องเพียงแค่สิ่งที่เป็นด้านบวกเท่านั้น เช่น ความรัก, ความห่วงใย, การให้อภัย แต่บางครั้งมันเกี่ยวข้องกับการตัดสินความถูกต้องด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกแกะที่หลงหายไป อย่างไรก็ตาม เป้าหมายของการเลี้ยงดูก็ยังคือการเยียวยารักษา

4. ผู้เลี้ยงแกะที่กล้าหาญ  (The Courageous Shepherd)

การอภิบาลถือเป็นงานที่มีต้นทุนสูง ดังนั้นความกล้าหาญถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานอภิบาลของศิษยาภิบาล ซึ่งผู้เขียนคิดว่าในแนวทางอภิบาลสมัยใหม่มักจะละเลยเรื่องนี้ไป เมื่อเรามองไปที่ภาพของผู้เลี้ยงแกะในพระคัมภีร์ มันได้แสดงออกถึงความห่วงใย เอาใจใส่ต่อความต้องการ มีแขนที่แข็งแรงไว้คอยอุ้มชูและการเสียสละตนเอง มันไม่มีข้อสงสัยเลยว่าพระเยซูเองเป็นต้นแบบที่ดีที่สุดของความเป็นผู้นำ ซึ่งผ่านทั้งคำสอนและการกระทำของพระองค์ จากภาพของผู้เลี้ยงแกะในพระคัมภีร์ มันคือการทรงเรียกให้ศิษยาภิบาลทุกคนมีความกล้าหาญ ความกล้าหาญในที่นี้ไม่ได้หมายถึงความรุนแรงหรือความแข็งแรงทางกายภาพที่สื่อสมัยนี้ได้บอกเรา ความกล้าหาญในที่นี้มีทั้งความอ่อนโยนและความเข้มแข็งที่เราเห็นได้ในคำพูด, การกระทำ, และการทนทุกข์ของพระเยซู “มันเป็นหลักคุณธรรมที่อยู่ภายในตัวตนทั้งหมด เป็นหนึ่งเดียวกับพระเจ้าและมนุษยชาติ เป็นความรักที่มั่นคงและไม่สามารถทำลายได้”

5. ชาวสะมาเรียที่รู้จักแยกแยะ  (The Self-Differentiated Samaritans)

จีน สตีเวนสัน โมสเนอร์ (Jeanne Stevenson Moessner)   ผู้เขียนหนังสือได้คิดถึงภาพลักษ์การอภิบาลของศิษยาภิบาลในบริบทสำหรับผู้หญิง ผู้หญิงมักจะมีปัญหากับการค้นหาตัวตนของเธอ ซึ่งนั้นได้นำไปสู่การนับถือตัวเองในระดับที่ต่ำ ผู้เขียนได้ใช้คำอุปมาเรื่องชาวสะมาเรียในลูกาเพื่อให้ภาพของการอภิบาล เป็นการทรงเรียกที่ปรากฏในคำอุปมาที่เชื่อมโยงกันและกัน ระหว่างความรักของพระเจ้า, เพื่อนบ้านและตัวตน ในคำอุปมานี้ ผู้เขียนได้ชี้ให้เห็นถึงตัวละครสามตัว โจร, ปุโรหิตและชาวเลวี, และชาวสะมาเรีย ทัศนคติต่อคนอื่นของแต่ละคนถูกสื่อออกมาได้ว่า “ของของคุณเป็นของของฉัน” (โจร), “ของของคุณก็เป็นของของคุณ ของของฉันก็เป็นของของฉัน” (ปุโรหิตและชาวเลวี), และ “ของของฉันเป็นของของคุณ” (ชาวสะมาเรีย), ทัศนคติของชาวสะมาเรียสามารถบรรยายถึงทัศนคติต่อตัวตนของผู้หญิงที่มีค่านิยมในการพึ่งพาผู้อื่น ผู้เขียนได้โต้แย้งว่าจุดที่สำคัญของคำอุปมาก็คือว่าชาวสะมาเรียเดินทางต่อจนสิ้นสุดหลังการช่วยเหลือชายบาดเจ็บแล้ว เขาได้ช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้าย แต่เขาก็ทำงานของเขาเองให้เสร็จด้วยเช่นกัน ดังนั้นทัศนคติของเขาที่มีต่อผู้อื่นจึงเป็น “ของของคุณเป็นของของคุณ ของของฉันก็เป็นของของฉัน แต่ฉันมีเพียงพอที่จะแบ่งปัน” ผู้หญิงต้องรักตัวตนของตัวเองเพราะพวกเขามีคุณค่าอย่างมาก

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้