สรุปหนังสือ"ภาพพจน์ของการอภิบาล" (ตอน 2)

1446 จำนวนผู้เข้าชม  | 

สรุปหนังสือ"ภาพพจน์ของการอภิบาล" (ตอน 2)

ส่วนที่2  ภาพพจน์แห่งความขัดแย้งของการอภิบาล

6.ผู้เยียวยาที่บาดเจ็บ  (The Wounded Healer)

ภาพพจน์นี้ถูกให้ภาพโดยบาทหลวงคาทอลิคผู้เป็นที่รู้จักกันดี, เฮนรี่ เจ เอ็ม นูเวน (Henri J. M. Nouwen) เขาได้บรรยายภาพของผู้เยียวยารักษาที่บาดเจ็บนี้เป็นพระเมสสิยาห์ซึ่งนั่งอยู่ท่ามกลางคนยากจน พันแผลให้ตัวเอง  รอที่จะถูกเรียกในเวลาที่ต้องการ ผู้กระทำพันธกิจเป็นผู้เยียวยาที่บาดเจ็บเพราะทุกๆคนมีบาดแผลของตัวเอง บาดแผลหลักที่ผู้รับใช้มีเหมือนกันคือบาดแผลของ”ความโดดเดี่ยว” ซึ่งสามารถหมายถึงความห่างเหินหรือการแยกตัวจากสังคม ผู้รับใช้ต้องรู้สึกคุ้นเคยกับความโดดเดี่ยวเพื่อที่เธอจะสามารถเข้าใจและช่วยเหลือผู้อื่นได้ คุณลักษณะหลักของผู้เยียวยาบาดแผลก็คือ     ”ความเป็นเจ้าบ้านที่ดี” ซึ่งนูเวนได้ให้คำจำกัดความว่า “เป็นความสามารถที่จะเอาใจใส่ต่อแขกที่มาเยี่ยมได้” การเป็นเจ้าบ้านที่ดีจะเป็นแหล่งของความตั้งใจและการสร้างชุมชน   ผู้รับใช้ควรจะสามารถจดจ่อที่ผู้อื่นได้โดยปราศจากวาระส่วนตัว  โดยทัศนคติอย่างนี้  การรู้สึกแห่งชุมชนก้จะเกิดขึ้น  คนๆหนึ่งอาจจะมาหาผู้รับใช้เพื่อจะแบ่งปันตัวตนที่อยู่ลึกๆโดยปราศจากความคาดหวังว่าผู้รับใช้สามารถแก้ทุกปัญหาของเขาได้ เขาสามารถแบ่งปันความยากลำบากให้กันและกันได้เพราะพวกเขาแบ่งปันบาดแผลที่มีเหมือนๆกัน

7.ตัวตลกละครสัตว์  (The Circus Clown)

ภาพพจน์นี้ถูกสร้างขึ้นโดยเฮจิ ฟาเบอร์(Heije Faber) ผู้รับใช้ในโรงพยาบาล เขาพบสามอย่างที่เหมือนกันในการเป็นผู้รับใช้และตัวตลกในคณะละครสัตว์: การเป็นส่วนหนึ่งของทีมและการถูกแยกออก, การเป็นและรู้สึกเหมือนมือสมัครเล่นท่ามกลางคนที่มีความรู้, และความต้องการที่จะศึกษาและความจำเป็นที่จะเป็นต้นแบบ, ตัวตลกและผู้รับใช้มีเป้าหมายเดียวกันคือการนำเอาความจริงออกมาจากโลกที่ดูเหมือนไม่จริงและไม่น่าทนอยู่ได้   ไม่ว่าจะเป็นผู้ชมในละครสัตว์หรือผู้ป่วยในโรงพยาบาล พวกเขาปรากฏตัวออกมาเหมือนจะไม่มีความสำคัญใดๆ แต่พวกเขาก็นำผู้คนไปสู่ความจริง

8.คนโง่ผู้ฉลาด  (The Wise Fool)

ภาพพจน์นี้มีรากฐานมาจากพระคัมภีร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก1โครินธ์บทที่1 “ความโง่เขลาของไม้กางเขน” ภาพพจน์นี้ย้ำอย่างชัดเจนให้เห็นถึงลำดับความสำคัญของฝ่ายจิตวิญญาณที่อยู่เหนือสิ่งของหรือวัตถุที่จับต้องได้ในโลกนี้   มีสามปัจจัยที่ทำให้คนโง่เป็น”คนฉลาด” เช่น ความเรียบง่าย, ความจงรักภักดี, และความโง่เขลาที่เป็นการเผยพระวจนะ ตัวอย่างเช่น คนโง่ที่เรียบง่ายนำความสดใหม่ในความสัมพันธ์กับผู้อื่นและคุณภาพของมันก็มีอำนาจในการทำลายความไม่จริงใจหรือการหลอกหลวงตัวเองได้ คนโง่ที่จงรักภักดีเป็นความตั้งใจที่จะละทิ้งตนเองเพื่อความจงรักภักดีที่สูงกว่า มันเป็นภาระผูกพันที่อยู่เหนือหลักเหตุและผล ดั่งที่เปาโลได้กล่าวไว้ใน 1 โครินธ์ 4:10 ว่า “เราทั้งหลายเป็นคนเขลาเพราะเห็นแก่พระคริสต์” คนโง่ในฐานะผู้เผยพระวจนะถูกใช้บ่อยๆในพระคัมภีร์เพื่อจะเรียกร้องความสนใจของผู้คนสู่การพิพากษาของพระเจ้าหรือคุณค่าที่สวนกระแสของพระเจ้าเช่นเรื่องราวของโฮเชยาและภรรยา เรื่องราวของชาวสะมาเรียใจดี ฯลฯ

9.  กรอบความคิดใหม่ของ “คนโง่ผู้ฉลาด”  (The Wise Fool Reframed)

มันมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากระหว่างภาพพจน์ของคนโง่ที่ฉลาดในงานอภิบาลและในวิธีการสร้างกรอบความคิด ในแนวคิดเกี่ยวกับคนโง่ที่เรียบง่าย เราจำเป็นต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความเขลาแบบมีสติปัญญาและความเขลาแบบไร้สาระ เมื่อมีการพยายามที่จะวิเคราะห์พฤติกรรมของมนุษย์ แทนที่จะมองในมุมมองของจิตวิทยา เราควรมองในกรอบใหม่ คือ “การประเมินด้านจริยธรรม”ซึ่งง่ายกว่ากันมาก  ในมุมของคนเขลาที่จงรักภักดี คนเขลาแบบนี้จะขัดแย้งกับคนที่นิยมความสมบูรณ์แบบ คนที่เชื่อในความสมบูรณ์แบบจะพยายามที่จะหาความหมาย “ที่ออกมาจาก” ทุกสถานการณ์ ดังนั้นเมื่อสถานการณ์อยู่ในความสิ้นหวัง มันก็ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะทนอยู่ต่อไป แต่คนเขลาจะเป็นคนหนึ่งที่จะหาความหมาย”ใน”สถานการณ์นั้นๆ ดังนั้นเขาจึงสามารถเดินต่อไปได้แม้มันจะไม่มีความหวังก็ตาม มุมมองสุดท้ายคือคนเขลาในฐานะผู้เผยพระวจนะเป็นความหมายที่ผู้เผยพระวจนะหลายๆคนใช้ในการสื่อสารสารของพระเจ้าไปถึงผู้คน ผู้เผยพระวจนะกลายเป็นคนโง่เพราะเขาพูดในสิ่งที่เขาเองก็ยังไม่ได้รู้อย่างแน่ชัดนัก เพราะเขาพูดให้กับพระเจ้าที่มีความขัดแย้งในความคิดของคนทั่วไป โยนาห์เป็นตัวอย่างที่ดีที่สุดสำหรับผู้เผยพระวจนะที่กลายเป็นคนเขลาไป

10.คนแปลกหน้าที่สนิทสนม  (The Intimate Stranger)

จากการได้เป็นผู้รับใช้ในโรงพยาบาลใหญ่แห่งหนึ่ง Robert C. Dykstra ได้พบตัวเองต่อผู้คนที่อยู่ในความสูญเสียที่เจ็บปวดหรือในวิกฤตการณ์ คนส่วนใหญ่เป็นคนที่เขาแทบจะไม่รู้จักมาก่อนเลย ในสภาพแวดล้อมนั้น ภาพพจน์ของการเป็น “คนแปลกหน้า” ได้ปรากฏขึ้น ซึ่งได้ช่วยเหลือเขาอย่างดีเยี่ยม  ในการพบกับคนแปลกหน้า มันมีความยากสองระดับที่ผู้รับใช้อาจจะได้พบ อย่างแรกคือความรู้สึกอึดอัดต่อคนที่ไม่เคยพบเจอกันมาก่อน และอย่างที่สองคือความกลัวในการสูญเสียที่จะมาถึง ในพระคัมภีร์ได้เป็นพยานถึงความห่วงใยที่พระเจ้ามีต่อคนแปลกหน้าโดยแสดงออกผ่านทางกฏเกณฑ์ และคำสั่งของพระองค์ คนอิสราเอลจะต้องดูแลคนแปลกหน้าโดยความเมตตา ทัศนคติแบบนี้ได้มาจากเบื้องหลังสามอย่างคือ ด้านศาสนศาสตร์, ประวัติศาสตร์และจิตวิทยา การได้พบกันท่ามกลางวิกฤตการณ์นั้น มันมีลักษณะที่เกี่ยวข้องกับการพบคนแปลกหน้าตือ:  วิกฤติของการเป็นคนแปลกหน้า, ความสำคัญของการให้ความหมายเหตุการณ์ต่างๆ, เป้าหมายที่ต้องการช่วยบรรเทาอาการป่วยได้อย่างรวดเร็ว, และวิธีการหรือศิลปะของการลาจาก  ผู้กระทำพันธกิจสามารถเตรียมตัวเองให้พร้อมได้เวลาต้องเจอคนที่อยู่ในช่วงวิกฤติ โดยสำนึกถึงลักษณะที่เกี่ยวข้องเหล่านี้

11. พยานที่สละตนเอง  (The Ascetic Witness)

 การเป็นผู้ให้คำปรึกษาของศิษยาภิบาลโดยพื้นฐานแล้วก็คือการเป็นพยานต่อชีวิตของผู้รับคำปรึกษาอย่างครบถ้วน เขาไม่ต้องพยายามที่จะทำอะไรให้สำเร็จ แค่เป็นพยานรู้เห็นอย่างง่ายๆ การให้คำปรึกษาของศิษยาภิบาลเป็นช่วงเวลาที่แยกออกไว้สำหรับผู้ให้คำปรึกษาและผู้รับคำปรึกษา เป็นเวลาที่แยกออกจากโลกของการจัดลำดับความสำคัญ, ความคาดหวัง, ความสำเร็จและความคิดที่ต้องการผลตอบแทน  พวกเขาสามารถมีเวลาร่วมกันใน “การพบปะของตัวตนที่บริสุทธิ์”ได้ การปฏิสัมพันธ์ เพื่อที่จะเป็นพยานที่เรียบง่ายได้นั้น ต้องมีเรียกร้องการเสียสละจากผู้ให้คำปรึกษา  มันมีปัจจัย 4อย่างที่จะต้องละทิ้ง คือ  ความคาดหวังในมารยาททั่วไป, ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิด, ความสำเร็จหรือผลลัพธ์ที่ยอดเยี่ยม, และตัวตนของศิษยาภิบาล

ส่วนที่3 ภาพพจน์ของการอภิบาลในมุมมองร่วมสมัย

12.ผู้วินิจฉัยด้านจริยธรรม  (The Diagnostician)

ศิษยาภิบาลก็เหมือนกับผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เป็นเจ้าของของความรู้ในเรื่องหลักทฤษฎีและหลักปฏิบัติซึ่งมีความเป็นเอกลักษณ์ และในการเป็นศิษยาภิบาลก็คือการเป็นผู้วินิจฉัยทางจริยธรรมนั่นเอง  ศิษยาภิบาลไม่ควรเข้าหาผู้คนด้วยพื้นฐานทางสังคมหรือหลักจิตวิทยา แต่จำเป็นที่จะต้องมีความจริงและมั่นคงในหลักศาสนศาสตร์และหลักการในศาสนาของตัวเอง ซึ่งเป็นการทรงเรียกเพื่อความถูกต้องและความซื่อสัตย์ต่อจิตสำนึกที่ดีงาม การวินิจฉัยก็คือการสังเกตุและแยกแยะในความรู้ต่างๆ มองเห็นความแตกต่างของสภาพคนแต่ละคน ซึ่งนำไปสู่การแก้ปัญหาหรือตัดสินใจ ในหลายๆโอกาสศิษยาภิบาลที่อยู่ในบริเวณชนบทได้เป็นแหล่งแห่งการให้ความช่วยเหลือที่ดีที่สุด ผู้คนได้เข้าไปหาศิษยาภิบาลด้วยเหตุผลหลายประการ เช่น การเข้าหาได้ง่าย ประหยัดและไว้วางใจได้ ในบางกรณี ผู้คนไม่ได้หันไปหานักจิตวิทยาหรือนักสังคมสงเคราะห์แต่แสวงหาการช่วยเหลือจากศิษยาภิบาลก่อนเป็นอันดับแรกเพราะว่าพวกเขาต้องการที่จะได้รับการประเมินผลทางด้านหลักข้อเชื่อและหลักจริยธรรม บางคนปรารถนาที่จะได้รับการอธิษฐานเผื่อหรือได้รับพระพรผ่านทางศิษยาภิบาล ดังนั้นความถูกต้องในการทำการวินิจฉัยของศิษยาภิบาลก็จะเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่จะทำงานออกมาได้อย่างดี

13.ผู้ฝึกฝนด้านจริยธรรมและผู้ให้คำปรึกษา  (The Moral Coach and Counselor)

ในอีกมุมมองหนึ่ง การเป็นศิษยาภิบาลถือว่าเป็นผู้ฝึกฝนด้านจริยธรรมและผู้ให้คำปรึกษาต่อสมาชิกของคริสตจักร ในมุมมองนี้ ศิษยาภิบาลต้องสนใจในสิ่งที่สมาชิกคนนั้นทำในโลกมากกว่ากิจกรรมที่ทำในคริสตจักร ถึงแม้ว่าในการนมัสการจะไม่ได้มีเป้าหมายหลักเพื่อยกระดับจริยธรรมให้สูงขึ้น แต่ก็เป็นทางหนึ่งที่ศิษยาภิบาลสามารถใช้เพื่อการฝึกฝนทางจริยธรรมอย่างกลมกลืนได้ การนมัสการพระเจ้าผู้บริสุทธิ์บ่อยๆจะสร้างจริยธรรมได้ ในเรื่องต่างๆ เช่น ความห่วงใยเพื่อนบ้าน การสารภาพบาป การมีภาระผูกพันหรือมีคำแนะนำทางจริยธรรมที่ชัดเจน สามารถใส่ให้อยู่ในการนมัสการอย่างเหมาะสมได้ บางคนอาจมีทัศนคติในแง่ลบต่อคำสอนด้านจริยธรรมในคริสตจักรได้ เช่น สัมพัทธนิยม(ความเชื่อว่าความจริงไม่เที่ยงแท้เสมอไป) หรือการยึดถือกฎเกณฑ์ต่างๆเป็นที่ตั้ง  เป็นต้น นอกเหนือจากการนมัสการ ก็อาจจะมีอีกหลายโอกาสที่สามารถสอนจริยธรรมได้ เช่น การศึกษาพระคัมภีร์ การเข้ากลุ่มอาชีพที่คล้ายๆกัน หรือกลุ่มรับใช้หรือบำเพ็ญประโยชน์ต่างๆได้

14.นักเล่าเรื่องท้องถิ่น  (The Indigenous Storyteller)

ศิษยาภิบาลผิวดำมักใช้เรื่องราวในการอภิบาล  ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องราวส่วนตัวของศิษยาภิบาลเอง เป็นประสบการณ์ในการทำพันธกิจหรือเรื่องราวจากพระคัมภีร์ อย่างไรก็ตามวิธีการนี้สามารถเป็นข้อเสียได้ เพราะมีความคิดเห็นส่วนตัวเยอะ ขาดการฝึกฝนที่เป็นรูปแบบหรือขาดความเข้าใจในผู้ฟังได้  หลักสำคัญของเรื่องราวมี 3 อย่างดังนี้ โครงเรื่อง เป้าหมายและกระบวนการ โครงเรื่องในความเชื่อของคริสเตียนเป็นโครงของคำสอน คือการบอกผู้คนเกี่ยวกับเป้าหมายของการมีชีวิตของพวกเขา เป้าหมายจะนำผู้คนให้มองไปยังชีวิตที่เต็มไปด้วยเป้าหมาย  ซึ่งรวมถึงความทรมานหรือความเจ็บปวด โครงเรื่องประกอบด้วย 4 ขั้นตอนหลักๆ คือ การเปิดเผย, การเชื่อมโยง, การทำให้ชัดเจน, การเปลี่ยนแปลง โดยการเล่าเรื่องราว ผู้ทำพันธกิจหาทาง”ที่จะช่วยให้ผู้คนได้เห็นการทำงานของพระเจ้าในท่ามกลางความทรมาน” มันมีทั้งหมด 4 ขั้นตอนที่จะสร้างเรื่องราวแบบนี้ได้ คือ สร้างเป้าหมายของเรื่องราวนั่นบนพื้นฐานของชีวิตผู้คนหรือสถานการณ์, เลือกตัวละครหลักที่เผชิญกับปัญหาที่คล้ายๆกัน, แนะนำความปราถนาที่จะเปลี่ยนแปลงผ่านโครงเรื่อง, ค้นหาในรายละเอียดสำหรับผลลัพท์ที่เกิดขึ้นกับตัวละครนั้นๆทั้งในสิ่งที่สำเร็จหรือล้มเหลว

15. ตัวแทนแห่งความหวัง  (The Agent of Hope)

ตัวแทนแห่งความหวังเป็นบทบาทหนึ่งที่สำคัญสำหรับศิษยาภิบาล ในการอภิปรายในเรื่องของความหวัง โดนัลด์ แคปส์ (Donald Capps) ได้แยกแยะระหว่างความคาดหวังและความหวังออกจากกัน ในอย่างแรกนั้นเกี่ยวข้องกับกระบวนการหรือรูปแบบของประสบการณ์ ในขณะที่อีกอันหนึ่งนั้นเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือสิ่งของ ความคาดหวังเป็นการรับรู้ถึงสิ่งที่คนต้องการให้เกิดขึ้นว่ามันจะเกิดขึ้น มันถูกขับเคลื่อนไปด้วยความปรารถนาหรือการตอบสนองต่อการสูญเสีย  ในขณะที่ความหวังนั้นเป็นสิ่งที่แสดงถึง “การมองเห็นถึงสิ่งที่อาจเป็นจริงได้และเกี่ยวข้องกับความเสี่ยง”  กระบวนการทางจิตวิทยาที่ช่วยให้คนได้เกิดการมองเห็นในอนาคตคือการกำหนดกรอบของเวลา มันเกี่ยวข้องทั้งการมองอนาคตและการกลับไปเยี่ยมเยียนอดีต คนบางคนรู้สึกดีขึ้นในกระบวนการที่ทำให้ได้มองเห็นตัวเองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต เช่น 3-6 เดือนข้างหน้า และการที่มองย้อนกลับไปในอดีตของตัวเองก็เป็นแหล่งแห่งสติปัญญาที่ช่วยคนให้เดินไปสู่อนาคตที่ดีกว่าได้

16.นางผดุงครรภ์ (The Midwife)

คาเรน อาร์ แฮนสัน(Karen R. Hanson) ได้เขียนบทความนี้จากบริบทที่เธอได้เป็นผู้รับใช้ในศูนย์บำบัดความผิดปรกติทางอารมณ์ และเธอได้เห็นผู้ทำพันธกิจนี้เป็นเหมือนกับนางผดุงครรภ์ฝ่ายวิญญาณ ในการเปรียบเทียบนี้ นางผดุงครรภ์ฝ่ายวิญญาณจำเป็นที่จะต้องมีคุณลักษณะบางประการที่จะให้ความหมายและวัตถุประสงค์ในการทำพันธกิจ นางผดุงครรภ์ฝ่ายวิญญาณต้องชัดเจนในสถานการณ์ที่ยากลำบากหรือความเจ็บป่วย บางครั้งการตั้งชื่อให้กับความยากลำบากนั้นก็เป็นส่วนหนึ่งของการทำพันธกิจได้ด้วย เธอจำเป็นที่จะต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์จริงๆของการเกิดใหม่ฝ่ายวิญญาณของตัวเอง นางผดุงครรภ์ฝ่ายวิญญาณต้องเตรียมพร้อมในการเผชิญหน้ากับความตายได้ ผู้ทำพันธกิจจะช่วยสมาชิกของเธอให้เผชิญและยืนอยู่ในความจริงที่โศกเศร้าได้ หรือในบางกรณีก็ต้องยืนยันถึงความหวังที่มีอยู่เหนือความตายได้  

17.ผู้ดูแลสวน  (The Gardener)

ผู้ดูแลสวนได้ให้ภาพของงานสองอย่างของการอภิบาลโดยศิษยาภิบาล; การดูแลผืนดินเช่นเดียวกับการเพาะปลูกต้นไม้ในดินเหมือนกัน ผืนดินในที่นี้หมายถึงสังคมที่ผู้ทำพันธกิจและสมาชิกของเขาอยู่ สังคมสามารถเป็นได้ทั้งสถานที่หรือความหมายของการเยียวยารักษา ในมุมมองอื่นที่เกี่ยวกับผืนดินก็คือตัวดินที่สามารถเปรียบได้กับประเพณีทางศาสนา เมื่อพิจารณาถึงสังคมและประเพณีแล้ว ผู้ทำพันธกิจต้องถามตัวเองว่าธรรมชาติแบบไหนที่สังคมนี้ต้องการ ผู้ทำพันธกิจสามารถเป็นได้ทั้งผู้ดูแลสวนและต้นไม้ได้ในเวลาเดียวกันเพราะบางครั้งเขาก็ถูกทำพันธกิจโดยตัวสังคมเช่นเดียวกัน เขาจำเป็นต้องจดจำของประทานในการรักษาของผู้อื่นและต้องเรียนรู้จากผู้อื่นเหมือนเป็นเด็กฝึกงาน  ผู้ทำพันธกิจต้องเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองเพื่อที่จะเป็น”สถานที่ที่ปลอดภัย”สำหรับผู้อื่น และจากภาพที่ชัดเจนในการเป็นผู้ดูแลสวน เขาจำเป็นต้องถูกเชื่อมโยงกับผู้คน มันเป็นอันตรายสำหรับผู้ทำพันธกิจที่ทำงานมาช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วพบว่าตัวเองได้อยู่ในงานที่เป็นกิจวัตรประจำวัน ทำให้ขาดความสดใหม่และวัตถุประสงค์ในการทำพันธกิจ เขาสามารถมองดูและเรียนรู้จากผู้ทำพันธกิจรุ่นพี่ คนที่สามารถยังคงความคิดที่มีคุณค่าและวัตถุประสงค์ถึงแม้ว่าเขาจะทำงานมาเป็นระยะเวลานานแล้วก็ตาม

18.นางผดุงครรภ์ นักเล่าเรื่องและคนแหกกฎเกณฑ์  (The Midwife, Storyteller, and Reticent Outlaw)

บริทา แอล กิล ออสติน(Brita L. Gill-Austern), ศิษยาภิบาลผู้ปกป้องสิทธิสตรีพยายามที่จะตอบคำถามที่ว่า “ในฐานะที่เราเป็นศิษยาภิบาลที่ปกป้องสิทธิสตรีและครู เราควรเข้าใจในตัวเองว่าเราเป็นใคร” ?   ในการตอบสนองต่อสิ่งนี้ เธอได้ค้นหาหลักการ5อย่างขึ้นมา: คุณครูในฐานะนางผดุงครรภ์, ผู้สอนการออกเสียง, นักเล่าเรื่อง, ศิลปินนักคิด, และผู้ร้ายที่ไม่ได้เต็มใจ ครูผู้เป็นนางผดุงครรภ์ช่วยในการนำความคิดและการรับรู้ที่ครึ่งๆกลางๆไปพัฒนาสู่ความเป็นผู้ใหญ่ ผู้สอนการออกเสียงหนุนใจให้ผู้หญิงที่จะส่งเสียงความต้องการของพวกเธอ ทั้งประสบการณ์และความรู้สึก นักเล่าเรื่องช่วยผู้หญิงในการเขียนชีวิตของพวกเธออีกครั้ง “ในวิถีทางที่พูดในความจริงสู่ความมีตัวตน ความฝันและความหวังของพวกเธอ”   ศิลปินนักคิดใช้เวลาอย่างมากมายที่จะเรียนรู้และทำความคุ้นเคยกับวัตถุนั้นๆ และในการอภิบาล ศิษยาภิบาลต้องเอาใจใส่ต่อคนที่อยู่ต่อหน้าเธอ การเป็นคนแหกกฎเกณฑ์นั้นคือคุณครูที่จะใช้ศิลปะหรือวิธีการที่ไม่ปกติในชั้นเรียน เธอจะให้ความสำคัญอย่างเพียงพอที่จะจิตนาการ, การสัมผัสด้วยใจ, การบูรณาการ, การทำให้เป็นเรื่องทั่วไป, และกระบวนการ

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้